วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

วิธีคำนวณรอบขา ด้วยโมล์วัดความเร็วรถ

หากเราเป็นมือใหม่พึ่งเริ่มหัดปั่นหรืออาจจะปั่นมานานแล้วแต่ยังไม่เกง เวลาเราจะซ้อมปั่นหลายๆ ครั้งเรามักจะได้ยินคำว่า "รอบขา"  หลายครั้งที่เราก็สงสัยว่ารอบขาเนี้ยเราจะวัดยังไง ถ้าเราไม่มีเครื่องช่วยววัดรอบขา
วิธีง่ายๆ พื้นฐานคือ วัดด้วยการนับเอาดื้นๆ โดยปกติรอบขาเราจะใช้หน่วย รอบต่อนาที(rpm) ซึ่งเราอาจนับรอบขาไปเรื่อยๆ จนครบหนึ่งนาทีนั้นก็คือรอบขาที่เราใช้    หรือมีวิธีที่ง่ายกว่านั้น คือ นับรอบขาทีละสิบวินาที เช่น 10 วินาที นับได้ 10 รอบ นั้นคือเราปั่นด้วยรอบขา 10x6 = 60 rpm(รอบต่อนาที)
              เช่น 10 วินาที นับได้ 15 รอบ นั้นคือเราปั่นด้วยรอบขา 15x6 = 90 rpm 
ก็ประมาณนี้ครับ


        ทีนี้มาพูดถึงสถานการจริงหากเราจะซ้อมรอบขาแน่นอนเราต้องเอารอบขาเป็นที่ตั้งผมเองก็ไม่ใช่ผู้รู้เรื่องการฝึกซ้อมแต่พอทราบมาว่าเราควรซ่อมที่รอบขาหนึ่งๆ เช่น ที่รอบขา 60-90 rpm (สำหรับมือใหม่)
จริงๆแล้วรอบขาช่วงนี้เป็นช่วงที่ปั่นสบายๆ ที่สุด แต่อีกในหนึ่งหาใช้เกียร์หนักในรอบขานี้ก็ไม่สบายสักเท่าไหร่ครับ ฮ่าๆๆๆ (อยู่ที่กำลังและความเร็ว และ อื่นๆ ในขณะนั้น)



         เอาละครับเข้าเรื่องกันจริงๆสักที ก็อย่างที่บอกครับหากเราอยากจะฝึกรอบขาให้ร่างกายชิน แต่ไม่อยากลงทุนซื้อเครื่องวัดรอบขาเพราะอาจไม่ได้จำเป็นมากสำหรับมือสมัคเล่นที่ปั่นเอาสนุก เอาสุขภาพสักเท่าไหร่ แต่ในกรณีนี้ผมจะพูดถึงการวัดรอบขาด้วยไมล์วัดความเร็วตามหัวข้อซึ่งแน่นอน เราต้องมีไมล์วัดความเร็วซะก่อน

เกรินมาเยอะละ เริ่มกันเลยครัช

ขั้นตอนมีดังนี้ครับ

    1. เราต้องรู้ขนาดของวงล้อของเราก่อน (เพื่อให้ง่ายผมขอไม่แสดงที่มาสูตรนะครับ) จุดประสงค์ก็เพื่อหาเส้นรอบวงของล้อเพื่อใช้ในการคำนวณครับ

มีสูตรคำนวณตัวอย่างเช่น
     ยาง 26X2.20 จะมีตัวเลขในวงเล็บบอกขนาดเป็นมิลลิเมตร (56-559)
56 x 2 = 112
112+559 = 671
676 x 3.14 = 2106.94 mm   ; (Pi = 3.14)  นี้คือเส้นรอบวงของล้อ(รวมยาง)


    2. หาอัตราทดเกียร์
วิธีหาอัตราทดเกียร์คือ   จำนวนฟันจานหน้าหารด้วยจำนวนฟันจานหลัง

ง่ายๆครับ      (หน้า T) / (หลัง T)  ; T คือ จำนวนฟัน

เช่น รถผมเองใช้จานหน้า 38T (รถผมมีใบเดียวครับ)
        เฟืองด้านหลังมี 9 ชั้นตามลำดับคือ 11, 13, 15 , 17 , 20 , 23 , 26 , 30 , 34 T

เพื่อให้ง่ายผมจึงทำใส่ โปรแกรม Excell จะได้ดังนี้ครับ

  อัตราทด
เฟืองโซ่(T)   38T
11T 3.455
13T 2.923
15T 2.533
17T 2.235
20T 1.900
23T 1.652
26T 1.462
30T 1.267
34T 1.118

จานหน้า/เฟืองหลัง  = 38T/11T = 3.455    
ความหมายของสมการนี้คือ จานหน้าหมุน 1 รอบ จานหลังจะหมุน 3.455 รอบ




    3. คำนวณอัตารเร็วรอบขา จากความเร็วที่จักรวิ่ง
สมการคือ

ความเร็วจักรยาน (km/h)  = เส้นรอบวงของล้อ(km) X อัตราเร็วรอบขา(rpm) X อัตราทด

สมมติ ว่าเราต้องการฝึกรอบขาที่ 90 รอบต่อนาที (rpm) ต้องใช้ความเร็วเท่าไหร่ในอัตราทดที่เท่าไหร่

ก่อนอื่นผมมี            เส้นรอบวง  2106.94 mm (จากข้อ 2)
                             อัตราทด 38:11 = 3.455   (จากข้อ 3)
ต้องการรอบขา       90 rpm
แทนค่าในสมการ

เส้นรอบวงของล้อ X อัตราทด X รอบขา      = ความเร็วจักรยาน
 2106.94 mm     X  3.455    X  90rpm    =  655066.8  mm/min (มิลลิเมตรต่อนาที)

จะเห็นว่าหน่วยไม่ตรงกำที่เราตั้งใจไว้นะครับ นั้นคือ km/h 
ดังนั้นเราก็ต้องมาแปลงหน่วยกัน(ขอไม่อธิบายที่มานะครับ) คือ
   (655066.8 mm/min) x 60 / 1000 / 1000 (คือคูณด้วย 60 หารด้วย 1000 สองครั้ง)
จะได้    39.304 km/h 
ความหมาย คือ ที่ ล้อใส่ยางขนาด 26x2.20 (56-559) 
                      ที่ จานหน้า 38ฟัน เฟืองหลัง 11ฟัน 
                      ต้องปั่นที่ความเร็ว ประมาณ 39.30 km/h 
           ถึงจะได้รอบขาที่ 90 rpm (รอบต่อนาที)      

บระเจ๊า !!!!    นี้มันขาแรงมากๆๆๆๆ   ไม่ต้องตกใจครับโดยปกติถ้าเราซ้อมจะไม่ได้ใช้อัตราทดนี้ครับพูดง่ายๆคือจานหน้าใหญ่สุด(ของรถผมนะครับ)เฟืองหลังเล็กสุด 
       จะเห็นว่าความเร็วที่ใช้จะเปลี่ยนไปเมื่อเราเปลี่ยนอัตราทด  ที่ความเร็วรอบเดิม

 ดังนั้นเราต้องหา เส้นรอบวงของรถเราเอง อัตราทดเฟืองของรถเราเอง
แล้วมานั้งคำนวนหาความเร็วที่เหมาะสมกับรอบขาที่เราใช้
      ดังเช่นผมเองได้ทำเป็นตารางออกมาไว้ดูเลย(โดยใช้โปรแกรม Excell ช่วยในการคำนวณ ซึ่งหาได้ง่ายสุดแล้ว)

ดังนี้ครับ

  อัตราทด ความเร็ว (km/h)
เฟืองโซ่(T)   38 รอบขา 60 rpm 80 rpm  90 rpm  100 rpm 120 rpm
11 3.455 26.20 34.94 39.30 43.67 52.41
13 2.923 22.17 29.56 33.26 36.95 44.34
15 2.533 19.22 25.62 28.82 32.03 38.43
17 2.235 16.95 22.61 25.43 28.26 33.91
20 1.900 14.41 19.22 21.62 24.02 28.82
23 1.652 12.53 16.71 18.80 20.89 25.06
26 1.462 11.09 14.78 16.63 18.48 22.17
30 1.267 9.61 12.81 14.41 16.01 19.22
34 1.118 8.48 11.30 12.72 14.13 16.95


        จะเห็นว่าที่รอบขา 90rpm ก็จะใช้อัตราเร็วต่างๆ ตามเกียร์ที่เราเปลี่ยไป
และจะเห็นว่า ที่รอบขาเดียวกัน จะใช้อัตราเร็วที่ลดลงที่เกียร์ที่ลดลง หรือเรารอบขาคงที่ที่เท่าเดิมความเร็วก็จะลดลง 

 *อัตราทดในตารางคือเฟืองหลัง 9 ชั้น ซึ่งจากบนสุดคือ 9 8 7 .....ตามลำดับ

จบแล้วครับ ลองเอาไปประยุคใช้ดูนะครับ ขั้นตอนอาจจะซับซ่อนสักนิดแต่พอทำเป็นตารางออกมาก็จะใช้ง่ายครับ


ขอบคุณที่เข้ามาอ่านครับ
นายรัฐพล ยัญญะจัทร์
15 พ.ค. 2558










วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ผลของ AEC ที่มีต่อบทบาทอาชีพ (วิศวกร)


เกร็ดความรู้

 สัญลักษณ์ของอาเซียน 



         สัญลักษณ์ของอาเซียนนั้น เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้มานานตั้งแต่ก่อตั้ง ประกอบไปด้วยรูปรวงข้างสีเหลืองจำนวน 10 ต้น บน พื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงิน โดยมีความหมายว่าดังนี้...
                 รวงข้าว 10 ต้น      หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ
                   สีเหลือง               หมายถึง  ความเจริญรุ่งเรือง
                   สีแดง                    หมายถึง  ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
                   สีขาว                    หมายถึง  ความบริสุทธิ์
                   สีน้ำเงิน                หมายถึง  สันติภาพและความมั่นคง


 เพลงประจำอาเซียน

           "The ASEAN Way"
           เป็นผลงานจากประเทศไทยที่ชนะเลิศจากการแข่งขันระดับภูมิภาคอาเซียน ประพันธ์โดย นายกิตติคุณ สดประเสริฐ (ทำนอง และ เรียบเรียง) ได้เริ่มใช้บรรเลงอย่างเป็นทางการครั้งแรกในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์  2552 ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
   



ประเทศไทยกับอาเซียน


วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน

ด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคม และ วัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิกโดยแบ่งออกเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้


ข้อตกลงยอมรับร่วมในคุณสมบัตินักวิชาชีพของอาเซียน

          ความเป็นมา ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2003 ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ผู้นำอาเซียนทั้ง 10 ประเทศได้ร่วมลงนามในแถลงการณ์ Bali Concord II โดยในแถลงการณ์ได้มีการกำหนดให้จัดทำความตกลงยอมรับร่วม (ASEAN Mutual Recognition Arrangement : MRA) ด้านคุณสมบัติในสาขาวิชาชีพหลักภายในปี 2008 เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายนักวิชาชีพ/แรงงานเชี่ยวชาญ/ผู้มีความสามารถพิเศษของอาเซียนได้อย่างเสรี ซึ่งต่อมารัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้มีการลงนามในข้อตกลงสาขาต่างๆ ดังต่อไปนี้
ข้อตกลงยอมรับร่วมของอาเซียนด้านบริการวิศวกรรม ลงนามในปี  2005

ข้อตกลงยอมรับร่วมของอาเซียนด้านบริการวิศวกรรม
(ASEAN Mutual Recognition Arrangement on Engineering Services)

เปิดให้วิศวกรที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดสามารถจดทะเบียนเป็น วิศวกรวิชาชีพอาเซียน (ASEAN Chartered Professional Engineer)  ซึ่งการจดทะเบียนจะช่วยอำนวยความสะดวกในการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมในประเทศอาเซียนอื่นได้  โดยต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบภายในของประเทศนั้นๆ ทั้งนี้ในบางประเทศรวมทั้งไทยได้กำหนดให้วิศวกรอาเซียนต้องปฏิบัติงานร่วมกับวิศวกรท้องถิ่น ส่วนวิศวกรที่ต้องการจดทะเบียนจะต้องผ่านการประเมินจากคณะกรรมการกำกับดูแล (Monitoring Committee) ในแต่ละประเทศ โดยของประเทศไทยจะดำเนินการโดยสภาวิศวกร
อ้างอิง จากข้อตกลงของอาเซียนที่มีผลต่อภาคอุตสาหกรรมไทย
ตารางที่ 3 สาระสำคัญของข้อตกลงยอมรับร่วมในคุณสมบัตินักวิชาชีพของอาเซียนในแต่ละสาขา
ข้อที่ 1 ข้อตกลงยอมรับร่วมของอาเซียนด้านบริการวิศวกรรม
(ASEAN Mutual Recognition Arrangement on Engineering Services)

ข้อมูลเพิ่มเติม http://aec.kapook.com/view49579.html



การปรับตัวของคุณเพื่อเตรียมรับมือกับ AEC 

1. เตรียมตัวทางด้านวิชาการความรู้ทางด้านวิชาชีพ และภาษา รวมถึงความรู้ทั่วไปเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเตรียมตัวรับกับการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาดแรงงาน

2. ฝึกฝนและหาประสบการณ์ด้านวิศวกร รวมถึงการสร้างผลงานในอาชีพวิศวกรเมื่อออกสู่ตลาดแรงงาน

3. ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกร(กว เครื่องกล)  จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีใบอนุญาต จากสภาวิศวกรไทย เพื่อความได้เปรียบในการทำงานในประเทศ

4. ศึกษาช่องทาง และเตรียมตัวให้พร้อม กรณีต้องการทำงานในสายอาชีพวิศวกรในต่างประเทศ (ในประเทศภาคีอาเซียน)  ใบอนุญาตที่ต้องมี คือใบอนุญาตวิศวกรอาเซียน(รับรองโดยประเทศต้นทาง และออกโดยกรรมการประสานงาน ACPECC) และใบอนุญาต RFPE (ซึ่งต้องขอและได้รับจากประเทศปลายทางก่อนเดินทางไปปฏิบัติงานวิชาชีพวิศวกรรมในประเทศปลายทางนั้นๆ)

5. เปิดใจเละเปิดโลกทัศน์ เรียนรู้ และศึกษาวัฒนธรรม ของประเทศเพื่อนบ้านและประเทศในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน รวมถึง กฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณี ที่เหมาะสมเพื่อเตรียมตัวสู่ AEC




AEC มีผลต่อสายอาชีพของคุณอย่างไร (อ้างอิงจากสาขาที่คุณเรียน) 

1. มีการแข่งขันภายในประเทศสูงขึ้น  เนื่องจากเดิมประเทศไทยมีช่องทางให้วิศวกรต่างชาติสามารถเข้ามาประกอบอาชีพในประเทศได้ไม่ยากนักอยู่แล้ว เสมือนว่าไทยเราเปิดประเทศมานานแล้ว แม้ว่าจะมีสภาวิศวกรควบคุมและคุ้มครองสิทธิวิศกรไทยอยู่ แต่ด้วยช่องทางที่เอื่อให้วิศวกรต่างชาติเข้ามาได้ รวมทั้งการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) นี้ ไทยเมื่อเทียบค่าตอบแทนใสสายอาชีพนี้กับประเทศเพื่อนบ้าน ถึงว่าอยู่ในระดับสูง จึงอาจทำให้ความต้องการทำงานของต่างชาติเข้ามาในไทยมากว่าวิศวกรไทยออกสู่นอกประเทศ ทำให้สมดุลดูจะนี้จะเอนเอียงทำให้การแข่งขันในไทยนั้นสูงขึ้นนั้นเอง

2.  ไทยมีจุดอ่อนเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) คืออันดับแรก เรื่องของภาษา โดยส่วนใหญ่ไทยถือว่าเสียเปรียบในเรื่องของภาษาทั้งภาษาอังกฤษ และรวมถึงภาษาต่างประเทศอื่น ของประเทศในกลุ่ม AEC เพราะเนื่องจาก กำแพงทางด้านภาษานี้อาจทำให้วิศวกรไทยถูกตัดออกจากตัวเลือก อันดับต่อมา คือค่าตอบแทนของวิศวกรไทยอาจสูงกว่าวิศวกรของประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่ม AEC ที่ความสามารถใกล้เคียงกันนั้นอาจเป็นเหตุผลที่วิศวกรไทยอาจต้องเสียเปรียบไปนั้นเอง

3.จุดแข็งของวิศวกรไทย คือเมื่อเทียบมาตรฐานหลักสูตรของวิศวกรไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่ม AEC ประเทศไทยถือว่าอยู่ในมาตรฐาน จะเห็นได้ว่าต่างประเทศได้เข้ามาศึกษาในประเทศไทยมากขึ้น และด้วยคุณภาพของวิศวกรไทยนี้เองที่จะเป็นจุดแข็งของวิศวกรไทย อีกข้อคือประเทศไทยมี สภาวิศวกรไทย ที่ให้การคุ้มครองรับรองและปกป้องสิทธิของวิศวกรไทยที่มีความน่าเชื่อถือจึงเป็นจุดหนึ่งที่วิศวกรไทยจะสามารถแข่งขันได้ในการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนี้

4.ความแตกต่างของมาตรฐานการออกแบบของแต่ละประเทศ  โดยทั่วไปมาตรฐานการออกแบบของวิศวกรไทยใช้แบบสากลหรือแบบ ระบบ SI ระบบหน่วยระหว่างประเทศ (International System of Units) หรือ ระบบเอสไอ (SI) คือ ระบบหน่วยมาตรฐานที่องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO หรือ International Organization for Standardization) กำหนดขึ้นให้ทุกประเทศใช้เป็นมาตรฐาน เพื่อให้การใช้หน่วยเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก โดยเฉพาะในวงการวิทยาศาสตร์ ซึ่งไทยใช้มาตรฐานนี้เป็นหลัก แต่จากการศึกษาศาสตร์และสายอาชีพวิศวกรในประเทศกลุ่ม AEC พบว่า การไปทำงานในต่างประเทศ  แต่ละประเทศจะมีกฎกติกาหรือกฎเกณฑ์ข้อกำหนดในการออกแบบไม่เหมือนกัน  บางประเทศอาจใช้มาตรฐานอังกฤษ  บางประเทศใช้อเมริกัน หรือญี่ปุ่น  หรือแม้กระทั่งเยอรมัน หรือจีน การที่มีประสบการณ์ออกแบบโดยกฎเกณฑ์ไทย อาจใช้ไม่ได้ในประเทศเหล่านั้น และอาจต้องใช้เวลาในการศึกษาและปรับความคิดอีกมากพอสมควร แต่ก็ถือเป็นประสบการณ์ให้กับวิศวกรเพื่อเพิ่มทักษะ

5. การแบ่งสาขางานวิศวกรรม ปัญหาคือ งานทางวิศวกรรมสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายสิบสาขา  ขึ้นอยู่กับว่าจะลงละเอียดมากเพียงใด แต่ในประเทศไทยเรากำหนดไว้ในกฎหมายหรือพ.ร.บ.สภาวิศวกรเพียง 7 สาขา  ได้แก่ โยธา  ไฟฟ้า  เครื่องกล  อุตสาหการ  เหมืองแร่  สิ่งแวดล้อม  และเคมี  ในขณะที่บางประเทศกำหนดไว้ถึงยี่สิบสาขา  ส่วนที่ไทยไม่มีก็สมมุติเช่นวิศวกรรมปิโตรเคมี  วิศวกรรมการเกษตร  วิศวกรรม (การป้องกัน)น้ำท่วม  วิศวกรรมนาวี  วิศวกรรมอุโมงค์  ฯลฯ  ซึ่งนั่นหมายความว่า หากมีงานโครงการเกี่ยวกับวิศวกรรมนาวีขึ้นในไทย  วิศวกรต่างชาติจะสามารถเข้ามาปฏิบัติวิชาชีพในไทยได้ทันทีโดยอิสระและอัตโนมัติ  เพราะถือว่าสภาวิศวกรหรือประเทศไทยไม่ได้กำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุม ในขณะเดียวกัน  หากมีโครงการวิศวกรรมนาวีขึ้นในประเทศอาเซียนหนึ่งที่เขากำหนดให้วิชาชีพนี้เป็นวิชาชีพควบคุม   วิศวกรไทยที่แม้จะได้ใบอนุญาตเป็นวิศวกรวิชาชีพอาเซียนหรือ ACPE ก็ไม่สามารถไปทำงานด้านวิศวกรรมนาวีในประเทศนั้นได้  เพราะสภาวิศวกรไม่สามารถออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพประเภทนี้ได้ด้วยเหตุที่ยังไม่ใช่วิศวกรรมที่อยู่ในขอบข่ายของการควบคุมตามข้อบังคับของสภาวิศวกร(ไทย)






บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล

วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

แบบฝึกหัดบทที่ 8

แบบฝึกหัด 


บทที่ 8 การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม                          กลุ่มที่เรียน ๓            
รายวิชา  การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                       รหัสวิชา  0026008
ชื่อ -สกุล นานรัฐพล  ยัญญะจันทร์   รหัส ๕๔๐๑๐๓๑๐๒๙๒ 

                        

คำชี้แจง จงพิจารณากรณีศึกษานี้
    1) “นาย A ทำการเขียนโปรแกรมขึ้นมาโปรแกรมหนึ่งเพื่อทดลองโจมตีการทำงานของคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ โดยทำการระบุ IP-Address โปรแกรมนี้สร้างขึ้นมาเพื่อทดลองในงานวิจัย นาย B ที่ เป็นเพื่อนสนิทของนาย A ได้นำโปรแกรมนี้ไปทดลองใช้แกล้งนางสาว C เมื่อนางสาว C ทราบเข้าก็เลยนำโปรแกรมนี้ไปใช้และส่งต่อให้เพื่อนๆ ที่รู้จักได้ทดลอง” การกระทำอย่างนี้ ผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมาย ใดๆ หรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย 
        ตามหลักกฎหมาย
               นาย A ทำผิด ที่ได้ปล่อยให้โปรแกรมที่อาจส่งผมร้ายต่อผู้อื่นนั้นออกสู่สาธารณะไม่ว่าจะด้วยเจตนาหรือไม่ก็ตาม 
               นาย B ทำผิด  ฐานลักขโมย ทรัพสินทางปัญญาของนาย A ทั้งได้นำไปเผยแพร่สู่สาธารณะและได้สร้ามความเสียหายเดือดร้อนต่อผู้อื่น คือ นางสาว C  
               นางสาว C ทำผิด ฐานมีโปรแกรมที่เป็นส่วนตัวหรือทรัพสินทางปัญญาของผู้อื่นไว้ในครอบครอง และเผยแพร่สร้างความเสียหายต่อผู้อื่น สู่สาธารณะ
       
         ตามหลักจริยธรรม
                นาย A ผิดที่สร้างโปรแกรมนี้ขึ้น นาย B และนางสาว C ผิดที่ขโมยของของผู้อื่น และสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น       

          2) “นาย J ได้ทำการสร้างโฮมเพจ เพื่อบอกว่าโลกแบนโดยมีหลักฐาน อ้างอิงจากตำราต่างๆ อีกทั้ง รูปประกอบ เป็นการทำเพื่อความสนุกสนาน ไม่ได้ใช้ในการอ้างอิงทางวิชาการใดๆ เด็กชาย K เป็นนักเรียน ในระดับประถมปลายที่ทำรายงานส่งครูเป็นการบ้านภาคฤดูร้อนโดยใช้ข้อมูลจากโฮมเพจของนาย J” การ กระทำอย่างนี้ ผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมายใดๆ หรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย


             ในหลักกฎหมาย 
                  นาย J ไม่ได้ทำผิด เพราะนาย J มีสิทธิ์ในการแสดงความคิดเห็นต่อการเสนอแนวคิด เด็กชาย K ไม่ผิดเพราะได้นำข้อมูลเพื่อใช้ในการศึกษา 
             
              ในหลักจริยธรรม 
                   นาย J ผิด ฐานนำเสนอเรื่องเท็จ ทำให้เกิดความเข้าใจผิด โดยตั้งใจ 




วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

แบบฝึกหัดบทที่ 7

แบบฝึกหัด

บทที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ กลุ่มที่เรียน                                กลุ่มเรียน ๓
รายวิชา  การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                         รหัสวิชา  0026008
ชื่อ-สกุล   รัฐพล ยัญญะจัทนร์       หัส ๕๔๐๑๐๓๑๐๒๙๒

คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้ 
     1. หน้าที่ของไฟร์วอลล์ (Firewall) คือ
              Firewall คือ เครื่องมือที่ใช้สำหรับป้องกันระบบ Network (เครือข่าย) จากกการสื่อสารทั่วไปที่ถูกบุกรุก จากผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต
     2. จงอธิบายคำศัพท์ต่อไปนี้ ที่เกี่ยวข้องกับไวรัสคอมพิวเตอร์ worm , virus computer, spy ware, adware มาอย่างน้อย 1 โปรแกรม
                 
 Worm เป็นไวรัสประเภทหนึ่งที่ก่อกวน สามารถทำสำเนาตัวเอง (copy) และแพร่กระจายไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ได้ทำให้คอมพิวเตอร์ส่วนตัวและในระบบเครือข่ายเสียหาย 

                  virus computer คือ โปรแกรมชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการสำเนาตัวเองเข้าไปติดอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ได้และถ้ามีโอกาสก็สามารถแทรกเข้าไประบาดในระบบคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ซึ่งอาจเกิดจากการนำเอาดิสก์ที่ติดไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้อีกเครื่องหนึ่ง หรืออาจผ่านระบบเครือข่ายหรือระบบสื่อสารข้อมูลไวรัสก็อาจแพร่ระบาดได้เช่นกัน
                   spy ware คือ โปรแกรมเล็ก ๆ ที่ถูกเขียนขึ้นมาสอดส่อง (สปาย) การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ อาจจะเพื่อโฆษณาสินค้าต่าง ๆ สปายแวร์บางตัวก็สร้างความรำคาญเพราะจะเปิดหน้าต่างโฆษณาบ่อย ๆ แต่บางตัวร้ายกว่านั้น คือ ทำให้คุณใช้อินเตอร์เน็ทไม่ได้เลย ไม่ว่าจะไปเวบไหน ก็จะโชว์หน้าต่างโฆษณา หรืออาจจะเป็นเวบประเภทลามกอนาจาร พร้อมกับป๊อปอัพหน้าต่างเป็นสิบ ๆ หน้าต่าง
                    Adware  เป็นศัพท์เทคนิคมาจากคำว่า Advertising Supported Software แปลเป็นไทยได้ว่า "โปรแกรมสนับสนุนโฆษณา" โดยทางบริษัทต่าง ๆ จะพยายามโฆษณาสินค้าของตนเอง เพื่อที่จะได้ขายสินค้านั้น ๆ ตัวอย่างเช่น ถ้าเราลองไปดาวน์โหลดโปรแกรมฟรีตามเว็ปต่าง ๆ เราก็จะเห็นโฆษณาสินค้าปรากฏขึ้นมาบ่อย ๆ ถ้าเราอยากให้โฆษณานั้นหายไป ก็ต้องจ่ายตังค์ค่าลิขสิทธิ์ เพื่อไม่ให้มีโฆษณาขึ้นมากวนใจอีกต่อไป
ตัวอย่างไวรัสคอมพิวเตอร์ 
             บูตเซกเตอร์ไวรัส (Boot Sector Viruses) หรือ Boot Infector Viruses คือไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในบูตเซกเตอร์ของดิสก์ การใช้งานของบูตเซกเตอร์ คือเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มทำงานขึ้นมาครั้งแรก เครื่องจะเข้าไปอ่านบูตเซกเตอร์ โดยในบูตเซกเตอร์จะมีโปรแกรมเล็ก ๆ ไว้ใช้ในการเรียกระบบปฏิบัติการขึ้นมาทำงาน                                                              


     3. ไวรัสคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง 
           บูตเซกเตอร์ไวรัส            
           Boot Sector Viruses หรือ Boot Infector Viruses คือไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในบูตเซกเตอร์ ของดิสก์ การใช้งานของบูตเซกเตอร์คือ เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มทำงานขึ้นมาตอนแรก เครื่อง จะเข้าไปอ่านบูตเซกเตอร์ โดยในบูตเซกเตอร์จะมีโปรแกรมเล็ก ๆ ไว้ใช้ในการเรียกระบบ ปฎิบัติการขึ้นมาทำงานอีกทีหนึ่ง บูตเซกเตอร์ไวรัสจะเข้าไปแทนที่โปรแกรมดังกล่าว และไวรัส ประเภทนี้ถ้าไปติดอยู่ในฮาร์ดดิสก์ โดยทั่วไป จะเข้าไปอยู่บริเวณที่เรียกว่า Master Boot Sector หรือ Parition Table ของฮาร์ดดิสก์นั้นถ้าบูตเซกเตอร์ของดิสก์ใดมีไวรัสประเภทนี้ติดอยู่ ทุก ๆ ครั้งที่บูตเครื่องขึ้นมาโดย พยายามเรียก ดอสจากดิสก์นี้ ตัวโปรแกรมไวรัสจะทำงานก่อนและจะเข้าไปฝังตัวอยู่ใน หน่วยความจำเพื่อเตรียมพร้อมที่ จะทำงานตามที่ได้ถูกโปรแกรมมา แล้วตัวไวรัสจึงค่อยไป เรียกดอสให้ขึ้นมาทำงานต่อไป ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น            
              โปรแกรมไวรัส            
              Program Viruses หรือ File Intector Viruses เป็นไวรัสอีกประเภทหนึ่งที่จะติดอยู่กับโปรแกรม ซึ่งปกติก็คือ ไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น COM หรือ EXE และบางไวรัสสามารถเข้า ไปติดอยู่ในโปรแกรมที่มีนามสกุลเป็น sys และโปรแกรมประเภท Overlay Programsได้ด้วย โปรแกรมโอเวอร์เลย์ปกติจะเป็นไฟล์ที่มีนามสกุลที่ขึ้นต้นด้วย OV วิธีการที่ไวรัสใช้เพื่อที่จะ เข้าไปติดโปรแกรมมีอยู่สองวิธี คือ การแทรกตัวเองเข้าไปอยู่ในโปรแกรมผลก็คือหลังจากท ี่ โปรแกรมนั้นติดไวรัสไปแล้ว ขนาดของโปรแกรมจะใหญ่ขึ้น หรืออาจมีการสำเนาตัวเองเข้าไปทับส่วนของโปรแกรมที่มีอยู่เดิมดังนั้นขนาดของโปรแกรมจะไม่เปลี่ยนและยากที่ จะซ่อมให้กลับเป็นดังเดิมการทำงานของไวรัส โดยทั่วไป คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่ติดไวรัส ส่วนของไวรัสจะทำงานก่อนและจะถือโอกาสนี้ฝังตัวเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำทันทีแล้วจึงค่อยให้ โปรแกรมนั้นทำงานตามปกติต่อไป เมื่อไวรัสเข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำแล้ว หลัง จากนี้ไปถ้ามีการเรียกโปรแกรมอื่น ๆ ขึ้นมาทำงานต่อ ตัวไวรัสก็จะสำเนาตัวเองเข้าไป ในโปรแกรมเหล่านี้ทันที เป็นการแพร่ระบาดต่อไปวิธีการแพร่ระบาดของโปรแกรม ไวรัสอีกแบบหนึ่งคือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่มีไวรัสติดอยู่ ตัวไวรัสจะเข้าไปหาโปรแกรมอื่น ๆ ที่อยู่ในดิสก์เพื่อทำสำเนาตัวเองลงไปทันทีแล้วจึงค่อยให้โปรแกรมที่ถูกเรียก นั้นทำงานตามปกติต่อไป            
                 ม้าโทรจัน
                 ม้าโทรจัน (Trojan Horse) เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้ทำตัวเหมือนว่าเป็น โปรแกรมธรรมดาทั่ว ๆ ไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียกขึ้นมาทำงาน แต่เมื่อ ถูกเรียกขึ้นมาแล้ว ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมมาทันที ม้าโทรจันบางตัวถูกเขียนขึ้นมาใหม่ทั้ง ชุด โดยคนเขียนจะทำการตั้งชื่อโปรแกรมพร้อมชื่อรุ่นและคำอธิบายการใช้งานที่ดูสมจริง เพื่อหลอกให้คนที่จะเรียกใช้ตายใจจุดประสงค์ของคนเขียนม้าโทรจันอาจจะเช่นเดียวกับคนเขียนไวรัส คือ เข้าไปทำ อันตรายต่อข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่อง หรืออาจมีจุดประสงค์เพื่อที่จะล้วงเอาความลับของระบบ คอมพิวเตอร์ม้าโทรจันนี้อาจจะถือว่าไม่ใช่ไวรัส เพราะเป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาโดด ๆ และจะไม่มีการเข้าไปติดในโปรแกรมอื่นเพื่อสำเนาตัวเอง แต่จะใช้ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของ ผู้ใช้เป็นตัวแพร่ระบาดซอฟต์แวร์ที่มีม้าโทรจันอยู่ในนั้นและนับว่าเป็นหนึ่งในประเภทของโปรแกรม ที่มีความอันตรายสูง เพราะยากที่จะตรวจสอบและสร้างขึ้นมาได้ง่าย ซึ่งอาจใช้แค่แบตซ์ไฟล์ก็สามารถโปรแกรมประเภทม้าโทรจันได้
                  โพลีมอร์ฟิกไวรัส
                  Polymorphic Viruses เป็นชื่อที่ใช้ในการเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการแปรเปลี่ยนตัวเอง ได้เมื่อมีสร้างสำเนาตัวเองเกิดขึ้น ซึ่งอาจได้หถึงหลายร้อยรูปแบบ ผลก็คือ ทำให้ไวรัสเหล่านี้ยากต่อการถูกตรวจจับ โดยโปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใช้วิธีการสแกนอย่างเดียว ไวรัสใหม่ ๆ ในปัจจุบันที่มีความสามารถนี้เริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
                  สทีลต์ไวรัส
                  Stealth Viruses เป็นชื่อเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการพรางตัวต่อการตรวจจับได้ เช่น ไฟล์อินเฟกเตอร์ ไวรัสประเภทที่ไปติดโปรแกรมใดแล้วจะทำให้ขนาดของ โปรแกรมนั้นใหญ่ขึ้น ถ้าโปรแกรมไวรัสนั้นเป็นแบบสทีลต์ไวรัส จะไม่สามารถตรวจดูขนาดที่แท้จริง ของโปรแกรมที่เพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากตัว ไวรัสจะเข้าไปควบคุมดอส เมื่อมีการใช้คำสั่ง DIR หรือโปรแกรมใดก็ตามเพื่อตรวจดูขนาดของโปรแกรม ดอสก็จะแสดงขนาดเหมือนเดิม ทุกอย่างราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น
     4. ให้นิสิตอธิบายแนวทางในการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์มาอย่างน้อย 5 ข้อ 
                 1. ใช้โปรแกรมป้องกันไวรัส
                 2. ใช้โปรแกรมป้องกันไวรัสที่เหมาะกับตัวเอง
                 3. ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสให้เป็น 
                 4. อัพเดตฐานข้อมูลไวรัส (Definition) อยู่เสมอ
                 5. เปลี่ยนเวอร์ชันใหม่ทันทีที่มีโอกาส 
                 6. อย่ารับไฟล์แปลกหน้า และติดตามข่าวสารอยู่เสมอ
     5. มาตรการด้านจริยธรรมคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ต
ที่เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน ได้แก่ 
          แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาบนพื้นที่ไซเบอร์
                1.มาตรการทางการบริหาร หน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างจริงจัง รวมทั้งต้องมีบุคลากรที่เหมาะสม และเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน และในขณะนี้ทางภาครัฐได้มีการดำเนินนโยบายขยายการใช้อินเทอร์เน็ตไปสู่ สังคมระดับรากหญ้า หากไม่มีการระมัดระวังและเตรียมการที่ดีก็อาจเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมและ กิจกรรมที่ไม่เหมาะสมบนอินเทอร์เน็ตไปสู่รากหญ้าและเยาวชนในชนบท แต่หากมีการเตรียมการที่ดี ตำบลอาจใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการกระจายความเจริญทางเทคโนโลยีและกระจาย องค์ความรู้ใหม่ ๆไปสู่สังคมได้ ดังนั้นหน่วยงานดังกล่าวจะต้องมีการวางมาตรการที่เด็ดขาดในการควบคุมดูแล พื้นที่ไซเบอร์ มีนโยบายที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพ
                 2.มาตรการทางกฎหมายหน่วยงานที่ทำหน้าที่ใน การบังคับใช้กฎหมายต้องมีบุคลากรอย่างเพียงพอ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นอกจากกำหนดให้การกระทำอันมิชอบทั้งหลายบนอินเทอร์เน็ต เป็นความผิดที่ไม่ต่างจากการกระทำในโลกจริงแล้วยังพยายามแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมาย เพิ่มอำนาจการสืบสวนสอบสวน เพื่อแสวงหาพยานหลักฐานให้กับเจ้าพนักงานของรัฐรวมทั้งกำหนดให้ผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวพันกับข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหลายมีหน้าที่ตาม กฎหมายต้องจัดเก็บส่งมอบหรือให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงานเพื่อช่วยกันนำตัว ผู้กระทำความผิดมาลงโทษ
                  3.มาตรการทางการ ควบคุมจรรยาบรรณ จะต้องมีเครือข่าย ที่มีการดูแล ผู้ประกอบอาชีพและทำกิจกรรมบนพื้นที่ไซเบอร์ ที่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างต่อเนื่องและจริงจัง ควรมีการป้องกันการชี้นำความคิดที่ผิดให้แก่คนในสังคม การที่ต้องมีการกระตุ้นให้เกิดสมาคมและเครือข่ายเพื่อดูแลกันเอง เพราะการเก็บข้อมูล หรือแสดงข้อมูล เพื่อแสดงตัวตน และความน่าเชื่อถือในขอบเขตเรื่องธุรกิจ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ก็เพื่อให้สามารถยืนยันตัวตนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น และองค์กร เครือ ข่าย สมาคม ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยังสามารถช่วยเหลือคนในวงการอินเตอร์เน็ต ช่วยคนทำเว็บไซต์ ใช้สายสัมพันธ์ในการให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
                   4.มาตรการทางสังคม ต้องยกระดับและพัฒนาสถาบันพื้นฐาน เช่น สถาบันครอบครัวสถาบันศาสนา สถาบันทางสังคม และสถาบันทางธุรกิจให้มีความรู้ ความสามารถด้านไอทีเพียงพอที่จะดูแลบุคคลในสถาบันของตน โดยที่ผู้นำองค์กรทางธุรกิจและสังคมต้องมีความรู้ทาง ไอทีเป็นอย่างดี
                    5.มาตรการทางการศึกษา ควรพัฒนาการศึกษาระบบสารสนเทศและความรู้ไอทีให้กว้างขวาง รวมทั้งจัดทำหลักสูตรออนไลน์ ให้ครอบคลุมทุกสาขาวิชา ทั้งในและนอกระบบการศึกษา
                    6.มาตรการทาง คุณธรรมและจริยธรรม ได้แก่ การจัดระบบการให้การศึกษาแก่ผู้ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ทางด้านคุณธรรมและ จริยธรรม เพื่อให้เขาเหล่านั้นเข้าไปชักนำโลกเสมือนจริงและการทำกิจกรรมบนพื้นที่ไซ เบอร์ไปในทางที่ถูกที่ควรดังนั้นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือการส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณธรรม จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี ประกาศใช้พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ที่ชัดเจน ไม่คลุมเครือ ดำเนินการเอาผิดกับผู้ที่กระทำผิดอย่างจริงจัง มีผู้ควบคุมดูและระบบใหญ่และระบบย่อยทั้งหมด เพื่อไม่ให้เกิดการกระทำผิดขึ้น นอกจากนี้ต้องมีการส่งเสริมให้คนมีคุณภาพเข้ามาใช้อินเทอร์เน็ต และต้องสร้างเว็บไซต์ที่มีคุณภาพให้เกิดขึ้นมากๆ รณรงค์ให้ผู้บริหารฯ อาจารย์ นักวิชาการ หรือแม้กะทั่งนักเรียน นิสิต นักศึกษา ทำการเขียนบทความลง website  webblog เหล่านี้จะเป็นการส่งเสริมผลักดันให้มีเว็บไซต์คุณภาพ ที่สำคัญคือสถานศึกษาต้องปลูกฝังจิตสำนึกของนักเรียนในสถาบันของตนเองให้มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้Internet อย่างถูกต้อง


             อ้างอิง




.......................................................................................................................................